"วิถีเรียบง่าย หัวใจอินทรีย์"ตามรอยพ่อหลวง ร.๙ ที่ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงตามแนวพระราชดำริ หมู่ที่ ๗ บ้านม่าหนิก ที่มีการน้อมนำพระราชดำริทฤษฎี "แกล้งดิน" มา ใช้จนสามารถปลูกกระเจี๊ยบเขียว พืชล้มลุก ประสบผลสำเร็จ และต่อยอดแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เช่น สบู่ เจลอาบน้ำ ครีมบำรุง ยาสระผม เซรั่ม Sleeping Mask และน้ำพร้อมดื่ม กระเจี๊ยบเขียว ที่มีคุณค่าต่อสุขภาพ

ประวัติ ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงบ้านม่าหนิกเป็นองค์กรเอกชนที่ได้ดำเนินงานให้พื้นที่ดินทราย พัฒนาด้วยการ "แกล้งดิน" จนสามารถปลูกพืชได้ เช่นกระเจี๊ยบเขียวเป็นพืชล้มลุก ใช้ เป็นผลิตภัณฑ์หลัก ทำเป็นสบู่กระเจี๊ยบเขียว เจลอาบน้ำกระเจี๊ยบเขียว ครีมบำรุงผิวกระเจี๊ยบเขียว ยาสระผมกระเจี๊ยบเขียว เซรั่มกระเจี๊ยบเขียว SleepingMask น้ำพร้อมดื่มกระเจี๊ยบเขียว ชื่อ "ม่าหนิก" มาจากข้อความในหลักศิลาจารึกเขาพระนารายณ์ พ.ศ.๑๕๖๘ พบที่เขาพระนารายณ์ จากความที่ว่า "นารณมุมณิกกิรามตตาร (ก)" แปลว่าเมืองแห่งมณี หรือ เมืองแก้ว

ประวัติผลิตภัณฑ์จากกระเจี๊ยบเขียว

การ "แกล้งดิน" เป็นการกระทำให้พื้นทรายมีสารอาหารของพืช ด้วยการเรียนรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อันมีการทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ ปุ๋ยมูลไส้เดือน น้ำหมักชีวภาพจากปุ๋ยน้ำหมัก ชีวภาพปลาทะเล ปุยน้ำหมักชีวภาพน้ำมะพร้าวเทียม ปุ๋ยน้ำหมักสับปะรด การขยายเชื้อน้ำหมัก EM การทำโบกาฉิ

กระเจี๊ยบเขียวสด

ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีฐานเรียนรู้ต่าง ๆ ดังนี้

๑. ฐานเรียนรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงบ้านม่าหนิก

๒. ฐานเรียนรู้เรื่องการทำปุยหมักอินทรีย์

๓. ฐานเรียนรู้เรื่องปุ้ยมูลไส้เดือน

๔. ฐานเรียนรู้เรื่องน้ำหมักชีวภาพ มี ๕ กิจกรรม > ปุยน้ำหมักชีวภาพปลาทะเล > ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพน้ำมะพร้าวเทียม > ปุ๋ยน้ำหมักสับปะรด > การขยายเชื้อน้ำหมัก EM > การทำโบกาฉิ

๕. ฐานน้ำยาไล่แมลง/ศัตรูพืช มี ๓ กิจกรรม > การทำเชื้อไตรโครเดอร์ม่า / บาวิเรีย > เวชภัณฑ์ > สมุนไพร

๖. ฐานเรียนรู้เรื่องการขยายพันธุกรรมพืช

๗. ฐานการเรียนรู้เรื่องการปลูกพืชในโรงเรือน/คอนโด

๘. ฐานการเรียนรู้เรื่องพลังงานทดแทน

๙. ฐานเรียนรู้เรื่องผลิตภัณฑ์ชุมชน มี ๘ กิจกรรม

> สบู่กระเจี๊ยบเขียว > เจลอาบน้ำกระเจี๊ยบเขียว > ครีมบำรุงผิวกระเจี๊ยบเขียว > ยาสระผมกระเจี้ยบเขียว > เซรั่มกระเจี๊ยบเขียว > SleepingMask > น้ำพร้อมดื่มกระเจี๊ยบเขียว > น้ำพร้อมดื่มดอกดาวเรือง

ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงบ้านม่าหนิกชื่อ "ม่าหนิก" มาจากข้อความในหลักศิลาจารึกเขาพระนารายณ์ พ.ศ.๑๕๖๘ (หลักที่ ๒๖) พบที่เขาพระนารายณ์ จากความที่ว่า "นา รณมุมณิกกิรามตตาร (ก)" แปลว่าเมืองแห่งมณี หรือ เมืองแก้ว ศิลาจารึกเขาพระนารายณ์ (จารึกหลักที่ ๒๖) วัสดุ : หิน อักษร/ภาษา : อักษรปัลลวะ ภาษาทมิฬ อายุ : ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑ สถานที่พบ : บริเวณที่พระนารายณ์ ตำบลกะปง อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ปัจจุบัน จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง จังหวัดภูเก็ต

คำจารึก ๑...รวรมนุ กุ (ณ) ... ๒ (ม)านุตานุนงคูรไท... ๓ (ต) โตฏฏกุฬมเปรศรี (อวนิ) ㆍ นารณมุมณิกกิรามต ตาร (ก) ๕ (กุ มเศณามุคตฺตารกกุม ๖ (มุฬุ)ทารกกุมอไทกุกลม คำแปล สระชื่อศรีอวนินารณัม ซึ่ง…..รวรรมัน คุณ….. ได้ขุดเอง ใกล้ (เมือง) นงคูร อยู่ในการรักษาของสมาชิกแห่ง มณิครามแลกองทัพระวังหน้า กับชาวไร่ชาวนา (ศาสตราจารย์ ฮูล์ช สันนิษฐานว่า นงคูรเป็นชื่อตำบลที่พวกทมิหตั้งอยู่ใกล้เมืองตะกั่วป่าทุกวันนี้ ชื่อผู้ขุดสระบางทีอาจเป็นภาสกวรรมัน) ในจารึก กล่าวถึง สมาชิกแห่งมณิคราม เป็นที่มาของชื่อ ม่าหนิก มณิคราม หรือ มณีคราม คือ หนึ่งในสมาคมพ่อค้าชาวอินเดียที่มีบทบาทการค้าที่เข้มแข็งในช่วงพุทธ ศตวรรษที่ ๑๔-๑๙ ในบริเวณที่ปัจจุบันเป็น กรณาฏกะ ทมิฬนาฑู อานธรประเทศตอนใต้ และบริเวณแนวยาวของชายฝั่งโคโรมันเดล บางยุคสมัยสามารถแผ่อิทธิพลไปถึงเกรละ และฝั่งทะเล ทางด้านตะวันตกของอินเดีย ผู้คนในบริเวณนี้ส่วนใหญ่ใช้ภาษาทมิฬ สมาคมพ่อค้ามณิครามค่อนข้างผูกพันกิจการอยู่กับอำนาจของทมิฬ โดยตรง เมื่อหมดอำนาจของพวกทมิฬในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙ สมาคมนี้ก็สลายตัวลง จากหลักฐานจารึกที่พบ อาจกล่าวได้ว่า สมาชิกแห่งมณิคราม หรือสมาคมพ่อค้าของชาวทมิฬจากอินเดียใต้บางส่วนน่าจะมีบทบาทอยู่ในภาคใต้ของไทยในช่วงเวลาที่ชุมชนโบราณตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ได้เจริญขึ้นเป็นเมืองท่าสำคัญทางฝั่งทะเลอันดามัน โดยน่าจะเป็นกลุ่มชาวทมิฬที่น่าจะนับถือไวษณพนิกายซึ่งสอดคล้องกับการพบประติมากรรมในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไวษณพนิกาย ใน ชุมชนโบราณดังกล่าว ศิลาจารึกเขาพระนารายณ์ (จารึกหลักที่ ๒๖) ซึ่งมีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๑ ถือเป็น ศิลาจารึกอักษรปัลลวะที่เก่าที่สุดในประเทศไทย โดยมีอายุร่วมสมัยกับศิลาจารึกหุบเขาช่องคอย จังหวัดนครศรีธรรมราช จารึกเยธุมาฯ ๑ และ ๒ จังหวัดนครปฐม จารึกเมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ และจารึกเหรียญเงินเมือง พรหมทิน จังหวัดลพบุรี

ที่ตั้ง หมู่ที่ ๗ หน้าอ่างเก็บน้ำบางเหนียวดำ บ้านม่าหนิก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ๘๓๑๑๐

นามานุกรม

- ณรงค์ ชูภักดิ์ เพศชาย ภูมิลำเนาภูเก็ต อยู่ที่ ๑๓๔/๓ หมู่ ๗ บ้านม่าหนิก ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ๘๓๑๑๐ ให้ข้อมูลอรุณรัตน์ สรรเพ็ชร เมื่อ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๓

- ณิชนันท์ นิลกรรณ์ เพศหญิง ภูมิลำเนาภูเก็ต อยู่ที่ ๕๖/๙ หมู่ ๗ บ้านม่าหนิก ตำบลศรีสุนทรอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ๘๓๑๑๐ ให้ข้อมูลอรุณรัตน์ สรรเพ็ชร เมื่อ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๓

- สาวิตรี ชูภักดิ์ เพศหญิง ภูมิลำเนาภูเก็ต อยู่ที่ ๑๓๙/ ๑ หมู่ ๗ บ้านม่าหนิก ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ๘๓๑๑๐ ให้ข้อมูลอรุณรัตน์ สรรเพ็ชร เมื่อ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๓

- สุภโรจน์ ทรงยศ เพศชาย เกิดเมื่อ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๐๒ ภูมิลำเนาภูเก็ต อยู่ที่ ๑๓๙/๑ หมู่ ๗ บ้านม่าหนิก ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ๘๓๑๑๐ ให้ข้อมูลอรุณรัตน์ สรรเพ็ชร เมื่อ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๓

บรรณานุกรม

- กรมศิลปากร. จารึกในประเทศไทย เล่ม ๑ อักษรปัลลวะ อักษรหลังปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๔. พิมพ์ครั้งที่ ๒. แก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร,๒๕๕๙.

- แกล้งดิน ใน https://mega.nz/fm ภูเก็ต : มอภ.จห. (รหัส ๑๔๙๓๐)

- จารึกเขาพระนารายณ์ รุณรัตน์ สรรเพ็ชร สืบค้นจาก http:/www.digital.nlt.go.th/digital/book-reader/index เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๓

- ธิดา สาระยา,ดร. ประวัติศาสตร์มหาสมุทรอินเดีย. กรุงเทพฯ :เมืองโบราณ, ๒๕๕๔.

- สุภโรจน์ ทรงยศ (๒๕๖๓) ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงบ้านม่าหนิก ภูเก็ต : มอภ.จห. (รหัส ๑๔๙๓๐)

- หลักศิลาจารึกเขาพระนารายณ์ อรุณรัตน์ สรรเพ็ชร สืบค้นจาก kuapa.com เมื่อ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๓

แผนที่
หน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้อง